ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ป่วยที่มีอาการไอ สามารถให้อาหารสายยางได้หรือไม่  (อ่าน 9 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 144
    • ดูรายละเอียด
ผู้ป่วยที่มีอาการไอ สามารถให้อาหารสายยางได้หรือไม่

การเฝ้าระวังภาวะอันตรายแก่ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากอันดับต้นๆของผู้ดูแลหรือพยาบาลผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นระหว่างการดูแล เนื่องจากอันตรายต่าง ๆสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและสามารถเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เพราะฉะนั้นเราควรมีวิธีการป้องกันและการดูแลที่ถูกต้อง จึงเป็นขั้นตอนสำคัญหลักๆในการดูแลผู้ป่วย การให้อาหารผ่านสายยางให้อาหาร ก็เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยด้านโภชนาการอย่างหนึ่งในผู้ป่วยที่ต้องการใส่สายยางเข้าไปในกระเพาะอาหาร โดยผ่านเข้าทางรูจมูก ไปสู่หลอดอาหาร จนถึงกระเพาะอาหาร

ซึ่งทำโดยแพทย์หรือพยาบาล ซึ่งระหว่างการให้อาหารทางสายยาง ผู้ป่วยอาจจะมีอาการไอได้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อาการที่ร่างกายมีการตอบสนองและกำจัดสิ่งที่กีดขวางระบบทางเดินหายใจทางจมูก เสมหะ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองภายในลำคอ อย่างละอองฝุ่นหรือควัน เป็นกระบวนการตามธรรมชาติของร่างกาย เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด ซึ่งจะทำให้เกิดการไอ การไอที่เกิดขึ้นทั่วไปและไม่ได้เป็นสัญญาณสำคัญของโรคร้ายแรงใด จะมีอาการดีขึ้นและหายไปภายในเวลาไม่เกิน 2-3 สัปดาห์ แต่หากมีอาการสำคัญอื่นเกิดขึ้นร่วมกับการไอ ไออย่างรุนแรง ไอจนเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก รู้สึกเหมือนมีก้อนเนื้ออยู่ในลำคอ ไอเป็นเลือด ไออย่างเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานแล้วไม่ทุเลาลงเกินกว่า 3 สัปดาห์

ซึ่ง อาการไอ สามารถแก้ไขได้ด้วยการดื่มน้ำในปริมาณมาก เพราะจะช่วยเจือจางเสมหะ บรรเทาการระคายเคืองคอหรือคอแห้ง ซึ่งจะช่วยลดอาการไอให้น้อยลงได้ หรืออาจจะดื่มน้ำอุ่น เช่น

    น้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งและมะนาว จะช่วยให้ชุ่มคอและช่วยบรรเทาอาการไอได้
    ที่สำคัญที่สุดคือ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหนุนหมอนสูงขณะนอนหลับ จะสามารถบรรเทาอาการไอแห้งได้
    อมยาอมแก้ไอ ช่วยลดการระคายเคืองในคอและช่วยลดอาการไอลงได้
    ทั้งนี้การอาบน้ำอุ่น จะช่วยให้น้ำมูกลดลงและบรรเทาอาการไอ โดยเฉพาะอาการไอจากไข้หวัดและภูมิแพ้
    ใช้เครื่องทำความชื้นในอากาศ เนื่องจากสถานที่ที่มีอากาศแห้งจะทำให้สารคัดหลั่งในจมูกหรือน้ำมูกแห้งตัว ทำให้คัดจมูกและรู้สึกไม่สบาย รวมไปถึงอาจทำให้เกิดอาการไอ

และควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการใช้ยาสูบในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะในขณะที่มีอาการไอ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์น้ำหอม เช่น สเปรย์น้ำหอมปรับอากาศ เพราะเป็นสาเหตุให้โพรงจมูกเกิดการระคายเคืองเรื้อรัง ทำให้มีเสมหะเพิ่มมากขึ้นและทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังได้ในที่สุด ซึ่งที่กล่าวมานั้น ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง และมีภาวะไอ ควรที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน


อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะมี อาการไอ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการสูดดมสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น ฝุ่น ควัน หรือมลพิษ โดยสามารถป้องกันตนเองได้ด้วยการใส่หน้ากากป้องกัน ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกหลายแบบและยังหาซื้อได้ง่าย นอกจากนั้นยังสามารถสอบถามรายละเอียดจากแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อช่วยให้เลือกหน้ากากป้องกันได้อย่างเหมาะสม หากวิธีต่าง ๆ ข้างตนยังไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการไอได้ ก็ควรที่จะหาซื้อยามารับประทานเพื่อบรรเทาอาการไอ เช่น ยาลดน้ำมูก จะช่วยลดการบวมของเนื้อเยื่อในจมูก ทำให้หลอดเลือดในปอดและจมูกหดตัวลง มีทั้งยาชนิดเม็ด ยาน้ำ และสเปรย์พ่นจมูก ตัวอย่างเช่น ยาฟีนิลเอฟรีน เป็นยาชนิดรับประทาน


โดยผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ ควรใช้ยาอย่างระมัดระวัง เนื่องจากยาชนิดนี้อาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงได้ หรือหากใช้ยาในปริมาณที่มากกว่ากำหนดอาจกระตุ้นให้มีอาการไอแห้งได้ นอกจากนั้น ยาลดน้ำมูกชนิดสเปรย์พ่นจมูก หากใช้เป็นระยะเวลานานกว่า 3 หรือ 4 วัน อาจทำให้เกิดการคั่งของน้ำมูกย้อนกลับคืนตามมาได้ ดังนั้นควรใช้ประมาณ 2-3 วันแล้วจึงหยุดใช้ ที่กล่าวมาคือการป้องกันในเบื้องต้น สำหรับผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง และมีอาการไอ อย่างไรก็ตาม ก็เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นในผู้ป่วยได้

อย่างไรก็ตามเราอยากให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมกับร่างกาย และอาหารปั่นผสม ยังมีความปลอดภัย ผลิตด้วยมาตรฐานตามโรงพยาบาล จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่มีคุณภาพมากที่สุด